คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
ปัจจุบันความผิดและบทลงโทษเกี่ยวกับยาเสพติด กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายยาเสพติด โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๔
ปัจจุบันได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้ว
กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้มีการประกาศกำหนดรายชื่อยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ ในประเภทต่าง ๆ ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบได้ที่ กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เว็บไซต์ https://narcotic.fda.moph.go.th/
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
“ยาบ้า” หรือเมทแอมเฟตามีน จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๑ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ พ.ศ. ๒๕๖๕ (ลำดับที่ ๕๓) ซึ่งการครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา ๑๔๕ ซึ่งมีอัตราโทษสูงสุด จำคุกตั้งแต่ ๕ ปี ถึง จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ ๕๐๐,๐๐๐ ถึง ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท หรือประหารชีวิต ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์และความร้ายแรงในการกระทำความผิด นอกจากนี้ การครอบครองยาบ้าโดยไม่ได้รับอนุญาต จัดเป็นความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งนอกจากจะได้รับโทษอาญาดังกล่าวแล้ว ผู้กระทำความผิดยังต้องถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สิน เพื่อดำเนินการตรวจสอบตามมาตรการตรวจสอบทรัพย์สินด้วย
การเสพยาบ้า มีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา ๑๖๒ อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ผู้เสพถูกเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตรวจพบ หากผู้นั้นสมัครใจและเข้ารับการบำบัดรักษาจะครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ก็จะไม่มีการดำเนินคดีกับผู้นั้น
กระท่อมไม่ถือเป็นพืชเสพติด โดยถูกปลดจากบัญชียาเสพติดประเภท 5 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564
การซื้อขายน้ำต้มใบกระท่อมสามารถทำได้ แต่ผู้ขายต้องติดป้ายประกาศห้ามขายน้ำต้มใบกระท่อม
ตามมาตรา 24 แห่ง พรบ.พืชกระท่อม พ.ศ. 2565 ห้ามขายให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
1. บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปี
2. สตรีมีครรภ์
3. สตรีให้นมบุตร
และห้ามขายน้ำต้มใบกระท่อมแบบผสม
ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ ลำไส้อุดตัน คลื่นไส้ อาเจียน กระสับกระส่าย เซื่องซึม กดการหายใจ ไตวาย ส่งผลกับยาที่รับประทานอยู่ เกิดภาวะถุงท่อม เกิดภาวการณ์เสพติด
ถึงแม้ว่าจะมีการปลดล็อคพืชกระท่อมเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 แต่ยังต้องปฏิบัติตาม พรบ.พืชกระท่อม พ.ศ. 2565 และกฎหมายอื่น เช่น พรบ.อาหาร พรบ.สมุนไพร พรบ.ควบคุมอาคารสถานที่ และ พรบ.การสาธารณสุข
ตัวอย่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อม เช่น
1. พระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565
โดยเป็นกฎหมายซึ่งควบคุมการนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม กำหนดมาตรการห้ามขายใบกระท่อมให้แก่กลุ่มบุคคลซึ่งอาจได้รับอันตรายจากการบริโภค การห้ามขายในบางสถานที่หรือบางวิธีการ และการป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิด ซึ่งกำหนดความผิดและบทลงโทษสำหรับการฝ่าฝืน
2. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522โดยเป็นกฎหมายซึ่งกำหนดให้ การนำพืชกระท่อมมาใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบของอาหาร จะต้องผ่านการประเมินความปลอดภัยของอาหาร และปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 430) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ซึ่งกำหนดข้อยกเว้นสำหรับอาหารที่มีส่วนของพืชหรือสารสกัดจากพืชกระท่อมเป็นส่วนประกอบ หากได้ผ่านการประเมินความปลอดภัยของอาหาร และส่งมอบฉลากให้สำนักงาน อย. ตรวจอนุมัติ ตามเงื่อนไขของประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาหารใหม่ (Novel food) แล้ว สามารถผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรได้
3. พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562
โดยเป็นกฎหมายซึ่งกำหนดให้การผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร จะต้องผ่านการตรวจสอบ การอนุญาต การขึ้นทะเบียน และการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการผลิต อย่างเป็นระบบและครบวงจร เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีพืชกระท่อมเป็นส่วนประกอบ มีความปลอดภัย มีคุณภาพและมีมาตรฐาน โดยจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำการพัฒนาและขออนุญาตผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีสารสกัดใบกระท่อมเป็นส่วนประกอบ
5. พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507
โดยเป็นกฎหมายควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยพืช โรค และศัตรูพืช เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค พาหะ และศัตรูพืชต่าง ๆ ที่อาจย้ายถิ่นฐาน ทั้งการนำเข้ามาในราชอาณาจักร และการส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศ